แนะนำการใช้งาน Hantek Programmable Power Supply รุ่น HT3325

แนะนำการใช้งาน Hantek Programmable Power Supply รุ่น HT3325

จะมองหาแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงหรือที่เรียกว่า DC Power Supply ดี ๆ สักตัว จะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง วันนี้ Venus Solutions จะขอแนะนำให้รู้จักและวิธีการใช้งานเบื้องต้นกับ Hantek Programmable Power Supply รุ่น HT3325

รูปที่ 1 Hantek Programmable Power Supply รุ่น HT3323

 

      สำหรับ DC Power Supply ยี่ห้อ Hantek ในรุ่นที่เป็น Programmable Power Supply หรือประเภทแหล่งจ่ายไฟชนิดโปรแกรมได้ จะมีด้วยกัน 2 รุ่นคือ HT3323 และ HT3325 โดยหลักแล้วทั้ง 2 รุ่นมีคุณลักษณะ(Features) เด่นที่เหมือนกัน รวมไปถึงรูปลักษณ์ภายนอกด้วยเช่นกัน แต่จะแตกต่างกันที่คุณสมบัติ (Specifications) บางประการเท่านั้น เช่น รุ่น HT3323 รองรับการจ่ายกระแสสูงสุดที่ 3A ทั้งช่องสัญญาณ 1 และ 2 ส่วนรุ่น HT3325 จะรองรับที่ 5A หรือพูดโดยรวมในรุ่น HT3325 มีคุณสมบัติรองรับการจ่ายพลังงานที่ดีกว่ารุ่น HT3323

      Hantek Progrommable Power Supply เป็นผลิตภัณฑ์สัญชาติจีนที่มีคุณภาพสูง โรงงานผลิตมีมาตรฐานสากล ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตัวนึงที่มีคุณภาพดีและราคาไม่แพง คุ้มค่าและครอบคลุมการใช้งานทั่ว ๆ ไปได้อย่างแน่นอน และทาง Venus Solutions เคยได้ไปสัมผัสกับโรงงานผลิตสินค้า Hantek ที่ประเทศจีน ณ เมืองชิงเต่ากันมาแล้ว บอกได้เลยว่าไม่ธรรมดา

 

 

 

คุณลักษณะฟังก์ชันหลักของ Hantek Programmable Power Supply รุ่น HT3325

  • ควบคุมด้วยระบบดิจิทัล สามารถปรับโหมดการใช้งานได้ทั้งแบบอนุกรม (series) แบบขนาน (parallel) และแบบอิสระ (independent)
  • มีหน้าแสดงผลแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า
  • มี digital knob ในการปรับค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า เพื่อความสะดวกและใช้งานได้ง่าย
  • มีฟังก์ชัน Timing
  • มีฟังก์ชัน Over-voltage protection
  • สามารถล็อคการตั้งค่าต่าง ๆ ในการใช้งานได้
  • มีช่องเสียบ USB 5V 1A สำหรับจ่ายไฟได้
  • มีช่องเสียบ USB สำหรับใช้ในการโปรแกรมได้

 

คุณสมบัติ Hantek Programable Power Supply รุ่น HT3325

 

 

ขั้นตอนการใช้งานเบื้องต้น

 

 

 

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของแหล่งจ่ายไฟ HT3325 จะอธิบายไปพร้อมกับการใช้งานดังต่อไปนี้

การปรับระดับแรงดันที่ช่อง CH1 หรือ CH2

  1. กดปุ่มหมายเลข 29 (หมายเลข 26 สำหรับ CH2) ในรูปที่ 2 ซึ่งในหน้าจอแสดงผลหมายเลข 1 (หมายเลข 7 สำหรับ CH2) ในรูปที่ 3 จะกะพริบ
  2. ป้อนค่าแรงดันไฟฟ้าสามารถป้อนได้ 2 วิธี

          2.1 ป้อนด้วยวิธีปรับ Knob ที่หมายเลข 25 ในรูปที่ 2

          2.2 ป้อนด้วยวิธีกดปุ่มตัวเลขที่หมายเลข 35 ในรูปที่ 2

  1. เมื่อป้อนค่าที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Enter หมายเลข 18 ในรูปที่ 2 เพื่อยืนยันการป้อนค่าแรงดันไฟฟ้า
  2. หากต้องการยกเลิกให้กดปุ่ม Cancel ในรูปที่ 2 หมายเลข 23
  3. กดปุ่ม ALL On/Off หมายเลข 19 ในรูปที่ 2 เพื่อให้จ่ายไฟออกมาทุกช่อง หากต้องการเลือกให้จ่ายไฟเฉพาะช่องที่ต้องการเท่านั้นให้กดปุ่ม CH1 On/Off ที่หมายเลข 20 ในรูปที่ 2 สำหรับเลือกจ่ายไฟเฉพาะช่อง CH1 หรือกดปุ่ม CH2 On/Off ที่หมายเลข 21 ในรูปที่ 2 สำหรับเลือกจ่ายไฟเฉพาะช่อง CH2

 

การปรับระดับกระแสไฟฟ้าที่ช่อง CH1 หรือ CH2

  1. กดปุ่มหมายเลข 30 (หมายเลข 27 สำหรับ CH2) ในรูปที่ 2 ซึ่งในหน้าจอแสดงผลหมายเลข 2 (หมายเลข 8 สำหรับ CH2) ในรูปที่ 3 จะกะพริบ
  2. ป้อนค่ากระแสไฟฟ้าสามารถป้อนได้ 2 วิธี

            2.1. ป้อนด้วยวิธีปรับ Knob ที่หมายเลข 25 ในรูปที่ 2

            2.2. ป้อนด้วยวิธีกดปุ่มตัวเลขที่หมายเลข 35 ในรูปที่ 2

  1. เมื่อป้อนค่าที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Enter หมายเลข 18 ในรูปที่ 2 เพื่อยืนยันการป้อนค่ากระแสไฟฟ้า
  2. หากต้องการยกเลิกให้กดปุ่ม Cancel ในรูปที่ 2 หมายเลข 23
  3. กดปุ่ม ALL On/Off หมายเลข 19 ในรูปที่ 2 เพื่อให้จ่ายไฟออกมาทุกช่อง หากต้องการเลือกให้จ่ายไฟเฉพาะช่องที่ต้องการเท่านั้นให้กดปุ่ม CH1 On/Off ที่หมายเลข 20 ในรูปที่ 2 สำหรับเลือกจ่ายไฟเฉพาะช่อง CH1 หรือกดปุ่ม CH2 On/Off ที่หมายเลข 21 ในรูปที่ 2 สำหรับเลือกจ่ายไฟเฉพาะช่อง CH2

 

การปรับระดับแรงดันไฟฟ้าที่ช่อง CH3

  1. กดปุ่ม Shift ที่หมายเลข 8 ในรูปที่ 2
  2. กดปุ่มระดับแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการใช้ โดยกดที่ปุ่มตัวเลขที่หมายเลข 35 ในรูปที่ 2 โดยที่ตัวเลข 1 จะเป็นระดับแรงดันไฟฟ้า 1.8V ตัวเลข 2 ระดับแรงดันไฟฟ้า 3.5V ตัวเลข 3 ระดับแรงดันไฟฟ้า 3.3V และตัวเลข 5 ระดับแรงดันไฟฟ้า 5.0V
  3. ที่หน้าจอหมายเลข 13, 14, 15 และ 16 ในรูปที่ 3 จะเป็นตัวบอกสถานะค่าระดับแรงดันไฟฟ้าที่เลือกใช้
  4. กดปุ่ม ALL On/Off หมายเลข 19 ในรูปที่ 2 เพื่อให้จ่ายไฟออกมาทุกช่อง หากต้องการเลือกให้จ่ายไฟเฉพาะช่องที่ CH3 เท่านั้นให้กดปุ่ม CH3 On/Off ที่หมายเลข 22 ในรูปที่ 2

 

การเลือกโหมดการใช้งานต่าง ๆ

สำหรับ HT3325 รุ่นนี้สามารถเลือกโหมดการใช้งานได้ 3 แบบดังนี้

  1. โหมดแบบอิสระ (Independent) เป็นโหมด default ในการใช้งานตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งโหมดนี้จะเป็นการใช้งานในลักษณะระหว่างแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ช่อง CH1 และช่อง CH2 จะเป็นอิสระต่อกัน
  2. โหมดอนุกรม (Series) เป็นโหมดที่มีการใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ช่อง CH1 และช่อง CH2 ร่วมกันแบบอนุกรมแสดงดังรูปที่ 4 โดยค่าแรงดันไฟฟ้าจะมีค่ารวมกันระหว่างช่อง CH1 และ CH2 ที่ RL เช่น ถ้าช่อง CH1 ค่าแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 10V และช่อง CH2 แรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 10V นั้นหมายถึงแรงดันไฟฟ้าที่ RL จะมีค่าเท่ากับ 20V (แรงดันไฟฟ้าที่ช่อง CH2 จะเหมือนกันกับช่อง CH1)

 

 

            2.1. ก่อนการใช้งานโหมดนี้จำเป็นต้องกดปุ่มหยุดจ่ายไฟในทุก ๆ ช่องก่อนโดยกดปุ่ม All On/Off หมายเลข 19 ในรูปที่ 2 โดยไฟที่ปุ่มต้องดับ

            2.2. การใช้งานโหมดนี้ให้กดปุ่ม Track ที่หมายเลข 17 ในรูปที่ 2

            2.3. หากต้องการยกเลิกการใช้งานโหมดนี้ให้กดปุ่ม Track ซ้ำอีกครั้งโดยไฟที่ปุ่มนี้จะต้องดับ

  1. โหมดขนาน (Parallel) เป็นโหมดที่มีการใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ช่อง CH1 และช่อง CH2 ร่วมกันแบบขนาน แสดงดังรูปที่ 5 โดยค่าแรงดันไฟฟ้าที่ช่อง CH2 จะแปรเปลี่ยนตามค่าของ CH1 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

 

 

            3.1. ก่อนการใช้งานโหมดนี้จำเป็นต้องกดปุ่มหยุดจ่ายไฟในทุก ๆ ช่องก่อนโดยกดปุ่ม All On/Off หมายเลข 19 ในรูปที่ 2 โดยไฟที่ปุ่มต้องดับ

            3.2. การใช้งานโหมดนี้ให้กดปุ่ม PARA ที่หมายเลข 16 ในรูปที่ 2

            3.3. หากต้องการยกเลิกการใช้งานโหมดนี้ให้กดปุ่ม PARA ซ้ำอีกครั้งโดยไฟที่ปุ่มนี้จะต้องดับ

 

การตั้งค่า Over-voltage Protection (OVP) ที่ช่อง CH1 และ CH2

      การตั้งค่า Over-voltage protection (OVP) หรือโหมดป้องการแรงดันไฟฟ้าเกิน ซึ่งฟังก์ชันนี้เมื่อปรับระดับแรงดันไฟฟ้าเกินกว่าที่เราตั้งค่า OVP ไว้ จะมีการแจ้งเตือนเกิดขึ้นโดยจะมีเสียง Beep ดัง และที่หน้าจอหมายเลข 6 ในรูปที่ 2 จะแสดงขึ้นหากปรับแรงดันไฟฟ้าเกินที่ช่อง CH1 และถ้าแรงดันไฟฟ้าเกินที่ช่อง CH2 จะแสดงขึ้นที่หมายเลข 12 ในรูปที่ 2 ซึ่งการตั้งค่า OVP มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. กดปุ่ม OVP หมายเลข 31 (หมายเลข 28 สำหรับ CH2) ในรูปที่ 2 เมื่อกดปุ่ม OVP แล้วไฟที่ปุ่มจะต้องติด
  2. ปรับระดับแรงดันสูงสุดที่ต้องการโดยกดที่ตัวเลขหมายเลข 35 ในรูปที่ 2 โดยสามารถตั้งค่า OVP ได้โดยให้อยู่ในช่วง 0 – 35V เท่านั้น โดยจะแสดงผลการตั้งค่าที่หมายเลข 1 (หมายเลข 7 สำหรับ CH2) ในรูปที่ 3
  3. เมื่อป้อนค่าที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Enter หมายเลข 18 ในรูปที่ 2 เพื่อยืนยันการป้อนค่าแรงดันไฟฟ้า
  4. หากต้องการยกเลิกให้กดปุ่ม Cancel หมายเลข 23 ในรูปที่ 2
  5. เมื่อต้องการดูค่า OVP ที่ตั้งค่าไว้ ให้กดปุ่ม OVP หมายเลข 31 (หมายเลข 28 สำหรับ CH2) ที่หน้าจอหมายเลข 1 (หมายเลข 7 สำหรับ CH2) จะแสดงขึ้น เมื่อต้องการออกจากการดูให้กดปุ่ม Enter หมายเลข 18 หรือ Cancel หมายเลข 23 ในรูปที่ 2

 

และอีกหนึ่งความสามารถของ DC Power Supply รุ่นนี้ก็คือสามารถโปรแกรมเข้าไปตั้งค่าโดยใช้ USB เชื่อมต่อระหว่าง DC Power Supply และคอมพิวเตอร์ผ่าน Com Port โดยใช้รูปแบบการสื่อสาร SCPI (Standard Commands for Programmable Instrument) จะมีวิธีการอย่างไรนั้นโปรดติดตามบทความต่อไปจากเรานะครับ

 

สนใจสั่งซื้อติดต่อได้ที่

อีเมล sales@venussolutions.com

โทร. 02-591-5244

มือถือ 085-488-5511, 088-194-4254

เฟซบุ๊กเพจ @venussolutionspage

ไลน์ @venussolutions